สมุนไพร อัญชัน

สมุนไพร
ชื่อสมุนไพร อัญชัน
ชื่ออื่นๆ / ชื่อท้องถิ่น อัญชันบ้าน , อัญชันเขียง (ภาคกลาง) , เอื้องจัน , เอื้องชัน
อังจัน (ภาคเหนือ) ,แดงจัน (เชียงใหม่)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Clitorea ternatea Linn.
ชื่อสามัญ Butterfly Pea , Blue Pea , Shell creeper.
วงศ์ Fabaceae (Leguminosae-Papilionoideae)

ถิ่นกำเนิดอัญชัน
อัญชันมีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนแถบทวีปเอเชียและอเมริกาใต้ (แต่บางตำราบอกว่าอยู่ที่ประเทศอินเดีย)
แล้วมีการแพร่กระจายพันธุ์ไปในเขตร้อนต่างๆ ทั่วโลกรวมไปถึงในออสเตรเลีย อเมริกา
และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา พม่า เป็นต้น สำหรับในประเทศไทย
อัญชันคงจะมีการแพร่กระจายพันธุ์มานานแล้ว เพราะพบในหนังสืออักขราภิธานศรับท์
ของหมอปรัดเล พ.ศ.2416 กล่าวถึงอัญชันว่า”อัญชัน : เปนชื่อเครือเถาวัลอย่างหนึ่ง มันมีดอกเขียวบ้าง ขาวบ้าง ไม่มีกลิ่น”
และสามารถพบได้ทั่วไปในป่าโล่งแจ้ง หรือในที่กึ่งร่ม ทั้งป่าเบญจพรรณในพื้นล่างจนไปถึงป่าดิบเขาสูง

สมุนไพร

ลักษณะ ต้นอัญชันเป็นไม้เถาเลื้อยขนาดเล็ก ใบเป็นใบประกอบ ดอกอัญชันเป็นดอกโดดเดี่ยว มีสีน้ำเงินเข้มหรือสีน้ำเงินอมม่วง
แล้วก็สีขาว ดอกชั้นในแบ่งเป็น 5 กลีบ กลีบนอกมีสีเขียว ส่งผลเป็นฝัก ลักษณะแบนเหมือนฝักถั่ว ปริมาณยาวโดยประมาณ
5-10 เซนติเมตร ดอกอัญชันมีชื่อเรียกตามท้องถื่นที่นานับประการ ดังเช่นว่า ในภาคเหนือจะเรียกดอกอัญชันว่า เอื้องชัน
แม้กระนั้นในจังหวัดเชียงใหม่จะเรียกว่าแดงชัน

ประโยชน์และสรรพคุุณอัญชัน
1. ใช้ เมล็ด รสมัน เป็นยาระบาย แต่มักทำให้คลื่นไส้อาเจียน
2. ราก รสขมเย็น(นิยมใช้ รากดอกขาว) ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ เป็นยาระบาย
3. ใช้รากถูฟัน ทำให้ฟันทน แก้ปวดฟัน
4. ราก รสเบื่อเมา ปรุงเป็นยากินและพอก
5. ถอนพิษสุนัขบ้า
6. ดอก โบราณใช้อัญชันในการปลูกผมและคิ้วเด็กอ่อน หยุดการร่วงของหนังศีรษะอ่อนแอ ย้อมผมหงอกให้เป็นสีดำ
7. ใช้ตำเป็นยาพอกหรือคั้นเอาน้ำทาแก้ฟกช้ำบวม
8. แก้พิษแมลงกัดต่อย
9. ใบและราก ฝนเอาน้ำหยอดตา แก้ตาแฉะ ตาฟาง
10. ส่วนตำรายาพื้นบ้าน ใช้ ราก ฝนกับรากสะอึกและน้ำซาวข้าว กินหรือทา แก้งูสวัด
11. นำมาถูฟันแก้อาการปวดฟันและทำให้ฟันแข็งแรง

รูปแบบและขนาดวิธีใช้
– ใช้บำรุงดวงตา แก้ตาเจ็บ ขับปัสสาวะ แก้เหน็บชา ดอกอัญชันอบแห้ง 20 กรัม เติมน้ำสะอาด 500 ซีซี
ต้มจนเดือนจากนั้นต้มต่ออีก 2 นาที ยกลง ปล่อยให้เย็น กรองใส่ขวดใช้รับประทาน
– แก้ปวดฟัน , ช่วยให้ฟันทน ใช้รากสดถูตามฟันซีที่ต้องการ
– แก้ตาเจ็บ , บำรุงดวงตา ใช้รากฝนกับน้ำแล้วหยอดตา
– ใช้รากต้มกับน้ำใช้ดื่ม เป็นยาระบาย ขับปัสสาวะแก้ปัสสาวะพิการ
– ดอกสดใช้ตำเป็นยาพอกหรือคั้นเอาน้ำทาบริเวณที่ฟกช้ำ และใช้แก้พิษแมลงกัดต่อย

สำหรับการใช้ประโยชน์ในต่างประเทศ ตามตำราอายุรเวทศาสตร์ของอินเดีย
– ส่วนรากและเมล็ดของอัญชันใช้เป็นยาบำรุงร่างกายและบำรุงสมอง ใช้เป็นยาระบายและขับปัสสาวะ
– ส่วนรากเพียงอย่างเดียวหรือน้ำต้มจากรากและดอกร่วมกันเป็นยาบำรุงโลหิต
– ส่วนเมล็ดใช้เป็นยาระบายขับปัสสาวะ และขับพยาธิ

ส่วนในการแพทย์แผนปัจจุบัน
ระบุว่าดอกอัญชันมีสารแอนโธไซยานิน ซึ่งเป็นสารสีม่วงอยู่มาก
มีคุณสมบัติเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ดีมากขึ้น
เช่น หลอดเลือดส่วนปลาย ทำให้เลือดไปเลี้ยงรากผมมากขึ้น หรือทำให้กลไกที่ทำงานเกี่ยวกับมองเห็นแข็งแรงขึ้น
เพราะมีหลอดเลือดมากขึ้น และที่สำคัญยังช่วยลดความเสื่อมของการเกิดภาวะเส้นเลือดอุดตัน
ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ช่วยในการชะลอวัยและริ้วรอยแห่งวัย ช่วยในการบำรุงสมอง
ช่วยล้างสารพิษและของเสียออกจากร่างกาย ช่วยต้านเบาหวาน เป็นต้น

 

12 ประโยชน์ดีๆ จาก “โสม” ราชาแห่งสมุนไพร ที่ไม่ได้เหมาะแค่กับคนชรา
สมุนไพร

12 ประโยชน์ดีๆ จาก “โสม” ราชาแห่งสมุนไพร

12 ประโยชน์ดีๆ จาก “โสม” ราชาแห่งสมุนไพร ที่ไม่ได้เหมาะ […]

Read More
ต้านฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 ด้วยการกิน 5 สมุนไพร
สมุนไพร

ต้านฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 ด้วยการกิน 5 สมุนไพร

ต้านฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 ด้วยการกิน 5 สมุนไพร จากสถานการณ์ฝุ […]

Read More
10 ประโยชน์ของดอกคำฝอย และโทษของดอกคำฝอย
สมุนไพร

10 ประโยชน์ของดอกคำฝอย และโทษของดอกคำฝอย

10 ประโยชน์ของดอกคำฝอย และโทษของดอกคำฝอย นอกจาก เจียวกู […]

Read More