
สมุนไพร พริกไทย
ชื่อสมุนไพร พริกไทย
ชื่ออื่นๆ / ประจำถิ่น พริกขี้นก , พริกไทยดำ , พริกไทยขาว , พริกไทยล่อน
พริกน้อย (ภาคเหนือ) , พริก (ใต้)
ชื่อสามัญ Peper
ชื่อวงศ์ Piperaceae
ถิ่นกำเนิดพริกไทย
พริกไทยมีถิ่นกำเนิดในแถบตอนใต้ของเทือกเขา กาต รัฐ เกละ ในประเทศอินเดีย
และศรีลังกา ปัจจุบันเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศแถบที่มีอากาศร้อน เช่น
อินเดีย , มาเลเซีย , ส่วนในไทยนั้น นิยมปลูกกันมากในจังหวัด จันทบุรี
ตราด และ ระยอง โดยนิยมปลูกพริกไทยกันมาก ในจังหวัดจันทบุรี ตราด และระยอง
โดยสายพันธุ์ที่นิยมปลูกกัน มีด้วยกัน 6 สายพันธุ์ คือ พันธุ์ใบหนา พันธุ์บ้านแก้ว
พันธุ์ปรางถี่ธรรมดาพันธุ์ปรางถี่หยิก พันธุ์ควายขวิด และสายพันธุ์คุชชิ่ง
ลักษณะทั่วไปพริกไทย
เป็นไม้เถาเลื้อยขึ้นตามต้นไม้อื่น ตามโขดหิน หรืออาจเลื้อยไปตามผิวดิน บางชนิดเป็นไม้พุ่ม พบน้อยมากที่เป็นพืชล้มลุก
มีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์ ลำต้นหรือเถาเป็นข้อปล้อง ตรงข้อมักโป่งนูนออกชัดเจน ถ้าเป็นไม้เถามักพบแตกรากตามข้อ
ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงตัวแบบสลับ แผ่นใบมักมีต่อมใสหรือต่อมมีสีขนาดเล็ก ในหนึ่งต้นใบมีขนาดและลักษณะหลากหลาย
ใบบนลำต้นทั้งที่เลื้อยตามผิวดินหรือเลื้อยขึ้นที่สูงมักมีรูปทรงคล้ายๆ กันในชนิดเดียวกัน ในหลายชนิดพบว่าใบบนลำต้น
ที่เลื้อยตามผิวดินมีลักษณะคล้ายกันมาก มีเพียงบางชนิดเท่านั้นที่ใบบนลำต้นและใบบนกิ่งมีลักษณะแตกต่างกันชัดเจน
และแตกต่างจากชนิดอื่นๆ จนสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการระบุชนิดได้ ใบบนกิ่งมีลักษณะต่างจากใบบนลำต้น
และแตกต่างกันในแต่ละชนิดช่อดอกเป็นแบบช่อเชิงลด พบน้อยที่เป็นช่อเชิงลดประกอบแบบซี่ร่ม เกิดที่ข้อตรงข้ามกับใบ
ดอกแยกเพศ อยู่ร่วมต้นกันโดยอยู่บนช่อดอกเดียวกัน อยู่คนละช่อดอก หรือพบทั้งสองลักษณะนี้
หรือดอกเพศผู้และเพศเมียอยู่แยกต้นกัน

ดอกมีขนาดเล็ก ไม่มีกลีบเลี้ยง ไม่มีกลีบดอก มีเฉพาะเกสรเพศผู้หรือเกสรเพศเมียและใบประดับขนาดเล็ก
ใบประดับรูปกลมหรือรูปรี เชื่อมติดกับแกนช่อดอกหรือมีก้านชูให้ใบประดับยื่นออกมาจากแกนช่อดอก เกสรเพศผู้ 2-6 อัน
เกสรเพศเมียมีรังไข่ฝังอยู่ในแกนช่อดอกหรือมีก้าน ยอดเกสรเพศเมีย 2-6 อัน
ผลแบบผลสด รูปกลมหรือรูปรี ติดกับแกนหรือมีก้าน สีเขียวหรือเขียวอมเหลือง เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ส้มหรือแดง
ส่วนใหญ่ออกดอกและติดผลเป็นช่วงๆ ตลอดปี ขึ้นกับความสมบูรณ์ของต้นและสภาพแวดล้อม
ประโยชน์และสรรพคุณพริกไทย
1. ขับลมในลำไส้ ขับลมในท้อง
2. แก้ปวดท้อง
3. ช่วยขับไขมันส่วนเกินออกจากร่างกาย
4. ใช้เป็นสมุนไพรลดน้ำหนัก
5. แก้ลมวิงเวียน
6. ช่วยย่อยอาหาร
7. แก้ลมพรรดึก (ก้อนอุจจาระที่แข็งกลม)
8. แก้อติสาร (โรคลงแดง)
9. แก้ลมจุกเสียด แก้แน่น ปวดมวนในท้อง
10. แก้เสมหะ แก้ไอ
11. บำรุงธาตุ ช่วยย่อยอาหาร ขับผายลม
12. ช่วยให้เจริญอาหาร
13. ขับเหงื่อ ลดความร้อนในร่างกาย
14. ช่วยขับปัสสาวะ
15. เป็นยาอายุวัฒนะ
นอกจากนี้บัญชียาจากสมุนไพร ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศ คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา (ฉบับที่ 5)
ปรากฏการใช้พริกไทยในยารักษาอาการโรคในระบบต่างๆของร่างกาย รวม 2 ตำรับ คือ
1. ยารักษากลุ่มอาการทางระบบทางเดินอาหาร ปรากฏตำรับ “ยาประสะกานพลู” มีส่วนประกอบของพริกไทย
ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณบรรเทาอาการปวดท้อง จุกเสียด แน่นเฟ้อจากอาหารไม่ย่อย
เนื่องจากธาตุไม่ปกติ
2. ยารักษากลุ่มอาการทางสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา ปรากฏตำรับ “ยาประสะไพล” มีส่วนประกอบของพริกไทย
ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้ในสตรีที่ระดูมาไม่สม่ำเสมอ หรือมาน้อยกว่าปกติ ตำรายาไทยพริกไทยจัดอยู่ใน
“พิกัดตรีกฎุก” แปลว่าของที่มีรสร้อน 3 อย่าง เป็นพิกัดยาที่ประกอบด้วยเครื่องยา 3 อย่าง ในปริมาณเสมอกันคือ
เมล็ดพริกไทย เหง้าขิงแห้ง และดอกดีปลี
มีสรรพคุณแก้โรคที่เกิดจากวาตะ(ลม) เสมหะ และปิตตะ(ดี) ในกองธาตุ กองฤดู กองอายุ และกองสมุฏฐาน
“พิกัดตัวยาเผ็ดร้อน 6 ชนิด” คือการจำกัดจำนวนตัวยาเผ็ดร้อน 6 ชนิด คือ พริกไทย ดีปลี ผลผักชีลา ใบแมงลัก
ผลกระวาน ใบโหระพา มีสรรพคุณแก้ลมจุกเสียด ช้ำบวม ช่วยย่อยอาหาร
ดังปรากฏอยู่ในตำรับยาอายุวัฒนะโบราณของไทยที่รู้จักกันแพร่หลาย เช่น ตำรับยาวิเศษ ที่มาแต่เมืองพิษณุโลกตอนหนึ่งว่า
“ถ้าจะให้เจริญอายุ ให้เอาเหงือกปลาหมอ ๒ ส่วน พริกไทย ๑ ส่วน ตำเป็นผงละลายน้ำกินทุกวัน
ถ้ากินได้ ๑ เดือนจะหมดโรค และมีสติปัญญานักแล…”
รูปแบบและขนาดวิธีใช้พริกไทย
เด็กระบบย่อยอาหารไม่ดี พริกไทยขาว 1.0 กรัม น้ำตาลกลูโคส 9.0 กรัม ผสมกันเป็นยาผง
• เด็กอายุต่ำกว่า 1 ขวบ กินครั้งละ 0.3-0.5 กรัม วันละ 3 ครั้ง ติดต่อกัน 1-3 วัน
• เด็กอายุ 3 ขวบขึ้นไป กินครั้งละ 0.5-1.5 กรัม วันละ 3 ครั้ง ติดต่อกัน 1-3 วัน
ทั้งนี้มักใช้ไม่เกินครั้งละ 2 กรัม
– ลดอาการท้องอืดเฟ้อ แน่นจุกเสียดและช่วยขับลม ใช้ผลบดเป็นผง ปั้นเป็นลูกกลอน รับประทานครั้งละ 0.5-1 กรัม
(ประมาณ 15-20 เมล็ด) หรือ จะใช้ผงชงน้ำดื่ม รับประทาน 3 เวลาหลังอาหาร
– การรับประทาน ก่อนอาหาร ประมาณ 10 นาที ครั้งละ 2 – 4 แคปซูล เพื่อประสิธิภาพ ในการเผาผลาญไขมัน
แต่ห้ามรับประทานทันที หลังทานอาหารเสร็จ เพราะจะทำให้เกิดอาการเรอ และท้องอืดทันที นอกจากนี้
ให้รับประทานแต่พอดีไม่ควรทานติดต่อกัน นานเกิน 6 เดือน และทานในปริมาณ ที่มากเกินไป
เพราะจะทำให้เป็น มะเร็งได้เช่นกัน
– การทา ทาทุกวัน หลังอาบน้ำเย็น หรือ ก่อนนอน วิธีนี้จะช่วยสลายไขมัน ตรงจุดนั้น ให้ผิวเรียบลื่น ไม่เป็นลูกคลื่น
พริกไทยแบ่งตามวิธีการเก็บ และเตรียมได้เป็น 2 ชนิด คือ
พริกไทยดำ (Black pepper) ได้จากการนำเอาพริกไทย ที่แก่เต็มที่ แต่ยังไม่สุก มาตากแดดให้แห้ง จนออกเป็นสีดำ
และไม่ต้องปลอกเปลือก
พริกไทยขาว (White pepper) หรือพริกไทยล่อน ได้มาจากการนำ เอาพริกไทยที่สุกเต็มที่ มาแช่ในน้ำเพื่อลอกเปลือกออก
แล้วนำไปตากให้แห้ง
ข้อแนะนำและข้อควรระวัง
เนื่องจากใน พริกไทยดำ ก็มีสารสารอัลคาลอยด์ ไพเพอร์ริน เมื่อเข้าสู่ร่างกาย ก็จะถูกทำปฏิกิริยา เปลี่ยนเป็นสารก่อมะเร็งได้
จึงเห็นได้ชัดว่า พริกไทย ไม่ได้มีประโยชน์อย่างเดียว แต่ก็มีโทษด้วยเช่นกัน เพราะฉะนั้นแนะนำว่าให้ใช้ในปริมาณ
ที่พอเหมาะ อีกทั้งผู้ที่ป่วยเป็นโรคตา และโรคริดสีดวงทวาร ไม่ควรทานพริกไทยดำ เพราะจะทำให้อาการ
กำเริบขึ้นได้ ทำให้ตาลาย เวียนศีรษะ เกิดฝีหนองเนื่องจากพริกไทยมีคุณสมบัติร้อนและแห้ง ถ้ากินมากทำให้ม้าม
กระเพาะอาหาร ปอดถูกทำลาย คนที่กินพริกไทยมาก และบ่อยเกินไป ทำให้ตาอักเสบได้ง่าย ทำให้คอบวมอักเสบเจ็บคอบ่อย
เป็นแผลในปากและฟันอักเสบเป็นหนอง