สมุนไพร ดอกคำฝอย

ชื่อสมุนไพร คำฝอย
ชื่ออื่นๆ ดอกคำฝอย ,ดอยคำ(ภาคเหนือ) , คำยอง คำหยอง คำหยุม คำยุ่ม (ลำปาง)
หงฮวา (จีนกลาง) ,อั่งฮวย (จันแต่จิ๋ว)
ชื่อสามัญ Safflower , False Saffron , Saffron Thistle
ชื่อวิทยาศาสตร์ Carthamus tinctorius Linn
วงศ์ COMPOSITAEดอยคำฝอย

ถิ่นกำเนิดดอกคำฝอย
ดอกคำฝอยมีถิ่นกำเนิดในแถบประเทศตะวันออกกลาง มีทั้งพันธุ์ที่มีหนาม และไม่มีหนาม แบ่งเป็นพันธุ์ที่ปลูกและเติบโตได้ดี
ในเขตหนาว และเขตร้อน ปัจจุบันมีการเพาปลูกมากในประเทศอินเดีย แม็กซิโก เอธิโอเปีย และสหรัฐอเมริกา
ในอินเดียใช้ดอกคำฝอยในการผลิตน้ำมันพืชเพื่อใช้ภายในประเทศ ส่วนประเทศจีนนิยมนำดอกไปใช้ในการแพทย์แผนโบราณ
สำหรับประเทศไทยมีการนำมาปลูกมากในภาคเหนือ แหล่งผลิตดอกคำฝอยที่สำคัญอยู่ทางภาคเหนือ
เพาะปลูกกันมากในอำเภอพร้าว อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ดอกคำฝอย
ในสมัยที่ได้บันทึกไว้ในกระดาษปาปิรัสของอียิปต์ พบมีการปลูกบริเวณลุ่มน้ำยูเฟรติสสำหรับใช้เป็นสีผสมน้ำมัน
สำหรับพิธีกรรมการทำมัมมี่ ปัจจุบันมีการปลูกในพื้นที่อียิปต์ อินเดีย จีน และประเทศใกล้เคียงรวมถึงในแถบเอเชีย
บริเวณประเทศจีน รัสเซีย และแถบประเทศที่มีอากาศเย็นแถบยุโรปเพื่อใช้สำหรับเป็นสีผสมอาหาร ผสมเนยแข็ง สีย้อมผ้า

ลักษณะทั่วไปดอกคำฝอย
จัดเป็นไม้ล้มลุก มีความสูงประมาณ 40-130 เซนติเมตร มีลำต้นเป็นสัน แตกกิ่งก้านมาก เป็นพืชที่มีอายุสั้น ทนแล้ง
เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ที่มีระดับความสูงต่ำกว่า 1,000 เมตร ชอบดินร่วนปนทรายหรือดินที่มีการระบายน้ำได้ดี
โดยอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการงอกจะอยู่ระหว่าง 5-15 องศาเซลเซียส ส่วนอุณหภูมิที่เหมาะสมในช่วงออกดอกคือ
24-32 องศาเซลเซียส ใช้ระยะเวลาการปลูกประมาณ 80-120 วันจนเก็บเกี่ยว
• ใบคำฝอย มีใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปวงรี ลักษณะของใบคล้ายรูปหอกหรือรูปขอบขนาน ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย
ปลายเป็นหนามแหลม ใบมีความกว้างประมาณ 1-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-12 เซนติเมตร
• ดอกคำฝอย ออกดอกรวมกันเป็นช่ออัดแน่นบนฐานดอกที่ปลายยอด มีดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก
ดอกคำฝอยมีลักษณะกลมคล้ายดอกดาวเรือง เมื่อดอกคำฝอยบานใหม่ ๆ จะมีกลีบดอกสีเหลืองแล้วจึงค่อย ๆ
เปลี่ยนเป็นสีส้ม เมื่อแก่จัดดอกจะเปลี่ยนเป็นสีส้มแดง ที่ดอกมีใบประดับแข็งเป็นหนามรองรับช่อดอกอยู่
• ผลคำฝอย ลักษณะของผลคล้ายรูปไข่หัวกลับ ผลเบี้ยว ๆ มีสีขาวงาช้างปลายตัด มีสัน 4 สัน
ขนาดของผลยาวประมาณ 0.6-0.8 เซนติเมตร ผลเป็นผลแห้งไม่แตก ด้านในผลมีเมล็ดเป็นรูปสามเหลี่ยมยาวรี
เปลือกแข็ง มีสีขาว ขนาดเล็ก เมื่อผลแก่แห้งเมล็ดจะไม่แตกกระจาย
• ตัวยาที่มีคุณภาพดี ดอกต้องละเอียด สีเหลืองแดงสด ไม่มีกิ่งก้าน คุณสมบัติเหนียวนุ่ม
ประโยชน์และสรรพคุณดอกคำฝอย
1. ช่วยขับระดู
2. บำรุงประสาท
3. บำรุงหัวใจ
4. บำรุงโลหิต
5. แก้ตกเลือด
6. แก้ดีพิการ
7. ช่วยขับเหงื่อ
8. ช่วยระงับประสาท
9. แก้ไข้ในเด็ก
10. แก้ดีซ่าน
11. แก้ไขข้ออักเสบ
12. แก้หวัด น้ำมูกไหล
13. แก้โรคฮิสทีเรีย
14. รักษาอาการบวม
15. รักษาท้องเป็นเถาดาน
16. เป็นยาระบาย
17. รักษาอาการไข้หลังคลอด
18. ระงับอาการปวดในสตรีที่รอบเดือนมาไม่เป็นปกติ
19. บำรุงคนเป็นอัมพาต
20. แก้แสบร้อนตามผิวหนัง
21. สามารถปกป้องการทำลายส่วนต่างๆของร่างกายจากอนุมูลอิสระ
22. เพิ่มประสิทธิภาพระบบการไหลเวียนของเลือด
23. รักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับเลือดคั่ง เช่น โรคหลอดเลือดสมองแตก
24. เพิ่มระดับคอลเลสเตอรรอลชนิดดี
25. ลดระดับน้ำตาลในเลือด

ประโยชน์ในด้านอื่นๆของดอกคำฝอย
– ตากแห้งสำหรับชงน้ำร้อนดื่มแทนชา หรือ ต้มผสมน้ำตาลเล็กน้อย ให้กลิ่นหอม
– ตากให้แห้ง และบด เพื่อสกัดเป็นสีย้อมผ้าที่ได้จากสีเหลืองของสารคาร์ทามีดีน (carthamidine)
สีแดงสารคาร์ทามีน (carthamine) สามารถย้อมติดได้ดีในเส้นใยฝ้ายหรือเส้นใยจากพืช
ใช้ผสมอาหาร อาทิ ผสมเนยแข็ง และปรุงอาหาร เป็นต้น
– น้ำมันจากเมล็ดดอกคำฝอย และกลีบดอกสามารถนำมารับประทาน บำรุงเส้นผม บำรุงผิว เสริมสุขภาพ
– ใช้เป็นส่วนผสมของอาหารสัตว์เลี้ยง

ประโยชน์ในทางอุตสาหกรรม
– น้ำมันคำฝอยใช้เป็นวัตถุดิบผลิต Alkyd resins สำหรับเป็นสารตั้งต้นในการผลิตสี และกาวเหนียว
– ใช้เป็นน้ำมันหล่อลื่นในกระบวนการผลิตภาคอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมทอผ้า เป็นต้น
– ใช้เป็นน้ำมันเคลือบผิววัสดุให้มีความมันเงา ป้องกันสนิม เช่น งานไม้ เฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น
– ในอินเดียใช้เคลือบรักษาคุณภาพหนังสัตว์ เสื้อผ้าผลิตภัณฑ์เครื่องทอป้องกันการเปียก
– กากของเมล็ด ใบ ลำต้นแห้ง ใช้หมักผสมกับมูลสัตว์เป็นปุ๋ยคอกหรือทำเป็นปุ๋ยพืชสด
– ดอกของคำฝอยยังทำมาชงน้ำร้อนดื่มเพื่อสุขภาพได้แบบเก็กฮวยหรือน้ำชาได้อีกด้วย

รูปแบบขนาดวิธีการใช้ดอกคำฝอย
 การแพทย์แผนจีน ใช้ 3-9 กรัม ต้มเอาน้ำดื่ม
 ลดไขมันในเส้นเลือด ป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือด ใช้ดอกคำฝอยแห้งประมาณ 2 หยิบมือ
(2.5 กรัม) นำมาชงกับน้ำร้อนครึ่งถ้วยแล้วใช้ดื่ม
 ลดความอ้วน ใช้ดอกคำฝอยประมาณ 5 กรัม นำมาชงกับน้ำร้อน 1 แก้ว
 รักษาตาปลา ใช้ดอกคำฝอยสดและตี้กู่ฝีในปริมาณที่เท่ากัน นำมาตำผสมรวมกัน
แล้วใช้ปิดบริเวณที่เป็นตาปลา โดยเปลี่ยนยาวันละ 2 ครั้ง
 ป้องกันแผลกดทับ ใช้ดอกคำฝอยประมาณ 3 กรัมนำมาแช่กับน้ำพอประมาณจนน้ำเป็นสีแดง
แล้วนำมาถูบริเวณที่กดทับ โดยถูครั้งละ 10 – 15 นาที หากทำอย่างสม่ำเสมอก็จะช่วยป้องกันแผลกดทับ
ได้ถึง 100% โดยไม่มีผลข้างเคียง

12 ประโยชน์ดีๆ จาก “โสม” ราชาแห่งสมุนไพร ที่ไม่ได้เหมาะแค่กับคนชรา
สมุนไพร

12 ประโยชน์ดีๆ จาก “โสม” ราชาแห่งสมุนไพร

12 ประโยชน์ดีๆ จาก “โสม” ราชาแห่งสมุนไพร ที่ไม่ได้เหมาะ […]

Read More
ต้านฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 ด้วยการกิน 5 สมุนไพร
สมุนไพร

ต้านฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 ด้วยการกิน 5 สมุนไพร

ต้านฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 ด้วยการกิน 5 สมุนไพร จากสถานการณ์ฝุ […]

Read More
10 ประโยชน์ของดอกคำฝอย และโทษของดอกคำฝอย
สมุนไพร

10 ประโยชน์ของดอกคำฝอย และโทษของดอกคำฝอย

10 ประโยชน์ของดอกคำฝอย และโทษของดอกคำฝอย นอกจาก เจียวกู […]

Read More