สมุนไพร กะเพรา

สมุนไพร
ชื่อสมุนไพร กะเพรา
ชื่ออื่น ๆ /ชื่อท้องถิ่น กำก้อขาว , กำก้อดำ , กำก้อดง (ภาคเหนือ) , กะเพราแดง
กะเพราขาว , กะเพราขน (ภาคกลาง) , อีตู่ไทย อีตู้ข้า (ภาคอีสาน) , ห่อกว่อซู
ห่งตู้ปลู (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน) , อิมคิมหลำ (เงี้ยว – แม่ฮ่องสอน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ocimum sanctum Linn.
ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Ocimum tenuiflorum Linn.
ชื่อสามัญ Holy basil, Sacred Basil, Tulsi, Tulasi
วงศ์ Lamiaceae
ถิ่นกำเนิดกะเพรา
ต้นกะเพราเป็นพืชพื้นเมืองของเขตร้อนในถิ่นโลกเก่า คือบริเวณเขตร้อนของทวีปเอเชียและแอฟริกาแต่พบมาก
ในแถบเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ประเทศอินเดีย , ศรีลังกา , เนปาล , พม่า , ไทย , ลาว , กัมพูชา ฯลฯ
โดยสามารถพบได้ทั้งในแบบที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ และแบบที่ปลูกไว้เพื่อใช้ประโยชน์ เช่น ใช้เป็นอาหาร
สมุนไพรรักษาโรค หรือใช้ในด้านพิธีกรรมทางศาสนา เป็นต้น

ลักษณะทั่วไปกะเพรา
โดยทั่วไปแล้วกะเพราจะมีอยู่ 2 พันธุ์คือกะเพราขาวและกะเพราแดงอยู่ในวงค์ของยี่หร่า โดยมีจุดสังเกตคือ
กะเพราขาวมีใบและกิ่งสีเขียวอ่อนส่วนกระเพราแดงมีใบและกิ่งสีเขียวอมม่วงแดง และ กะเพราแดงมีกลิ่นแรงกว่ากะเพราขาว
ส่วนลักษณะทางพฤกษศาสตร์อื่น ๆ ก็เหมือนกันเกือบทั้งหมด คือ จัดเป็นไม้พุ่ม สูง 30-60 ซม. โคนต้นค่อนข้างแข็ง
กะเพราแดงลำต้นสีแดงอมเขียว ส่วนกะเพราขาวลำต้นสีเขียวอมขาว ยอดอ่อนมีขนสีขาว ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน
รูปรี กว้าง 1-3 ซม. ยาว 2.5-5 ซม. ปลายใบมนหรือแหลม โคนใบแหลม ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย แผ่นใบสีเขียว
มีขนสีขาว ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกสีขาวแกมม่วงแดงมีจำนวนมาก กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกัน ปลายเรียวแหลม
ด้านนอกมีขน กลีบดอกแบ่งเป็น 2 ปาก ปากบนมี 4 แฉก ปากล่างมี 1 แฉก ปากล่างยาวกว่าปากบน
มีขนประปราย เกสรเพศผู้มี 4 อัน ผล เป็นผลแห้ง เมื่อแตกออกจะมีเมล็ด สีดำ รูปไข่

สมุนไพร

 

ประโยชน์และสรรพคุณกะเพรา
1. ลดอาการท้องอืดเฟ้อ ขับลม
2. แก้ปวดท้อง บำรุงธาตุ
3. ขับผายลม
4. แก้อาการจุกเสียดในท้อง ทำให้เรอ
5. แก้ท้องร่วง
6. แก้คลื่นไส้อาเจียน
7. ช่วยขับเสมหะ ขับเหงื่อ
8. แก้โรคผิวหนัง
9. แก้อาการปวดท้องในเด็กทารก
10. เป็นยาเพิ่มน้ำนมสตรีหลังคลอด ขับน้ำนม
11. บรรเทาอาการไข้เรื้อรัง
12. แก้ปวดฟัน
13. ทาผิวหนังแก้กลากเกลื้อนและโรคผิวหนังอื่น ๆ
14. ใช้หยอดหู แก้อาการปวดหู
15. เป็นยาอายุวัฒนะ
16. เป็นยารักษาหูด

รูปแบบและขนาดวิธีใช้กะเพรา
กะเพราใช้ลดอาการท้องอืดเฟ้อ ขับลม ปวดท้อง โดยใช้ใบสด 1 กำมือ น้ำหนักสดประมาณ 25 กรัม
หรือใบแห้ง 4 กรัม ต้มให้เดือด เอาแต่น้ำดื่ม หรือจะใช้ใบกะเพราแห้ง ชงกับน้ำดื่มเป็นยาขับลม
ถ้าป่นเป็นผงให้ชงกับน้ำรับประทาน ในเด็กอ่อนใช้ใบสด ใส่เกลือเล็กน้อยบดให้ละเอียดผสมน้ำผึ้ง
หยอดให้เด็กอ่อนเพิ่งคลอด 2-3 หยด เป็นเวลา 2-3 วัน จะช่วยขับลมและถ่ายขี้เทา

– ใช้ แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน (เกิดจากธาตุไม่ปกติ) โดยใช้ใบและยอดสด 1 กำมือ (ประมาณ 25 กรัม)
ต้มเอาน้ำดื่มหรือใช้กะเพราทั้ง 5 ทั้งสด หรือ แห้ง ชงน้ำดื่ม รับประทานเด็กอ่อน ใช้ใบสด 3-4 ใบ
ผู้ใหญ่ ใบแห้ง 1 กำมือ หรือ ใบสด 25 กรัม หรือ ผงแห้ง 1 ช้อนโต๊ะ หรือ 2 ช้อนแกง
– ใช้แบบยาภายใน เด็กอ่อน – ใช้ใบสด ใส่เกลือเล็กน้อย บดให้ละเอียด ผสมน้ำผึ้ง
หยอดให้เด็กอ่อนเพิ่งคลอด 2-3 หยด เป็นเวลา 2-3 วัน จะช่วยขับลม และถ่ายขี้เทา
ผู้ใหญ่ – ใช้ใบกะเพราแห้ง ชงกับน้ำดื่ม เป็นยาขับลม ถ้าป่นเป็นผง ให้ชงกับน้ำรับประ
– ใช้แบบยาภายนอก ใช้ใบสดทาบริเวณท้องเด็กอ่อน จะลดอาการท้องขึ้น
ท้องเฟ้อได้หรือใช้ใบสดคั้นกับหาหิงส์ทารอบ ๆ สะดือ และฝ่าเท้าก็ใช้ได้เช่นกัน
– ยาเพิ่มน้ำนมในสตรีหลังคลอดใช้ใบกะเพราสด 1 กำมือ แกงเลียงรับประทานบ่อยๆ หลังคลอดใหม่ๆ
– ใช้เป็นยารักษากลากเกลื้อนใช้ใบสด 15-20 ใบ ตำหรือขยี้ให้น้ำออกมา ใช้ทาถูตรงบริเวณที่เป็นกลาก
ทาวันละ 2-3 ครั้ง จนกว่าจะหาย
– ใช้เป็นยารักษาหูดใช้ใบกะเพราแดงสด ขยี้ทาตรงหัวหูด เข้า-เย็น จนกว่าหัวหูดจะหลุด
– เมล็ดกะเพราเมื่อนำไปแช่น้ำเมล็ดจะพองตัวเป็นเมือกขาว เมือกนี้สามารถใช้พอกบริเวณตาเมื่อตามีผลหรือฝุ่นละอองเข้า
ผงหรือฝุ่นก็จะออกมา ซึ่งจะไม่ทำให้ตาช้ำอีกด้วย
– ใช้รากกะเพราที่แห้งดีแล้วนำมาชงหรือต้มกับน้ำร้อนเพื่อดื่มซึ่งสามารถใช้บรรเทาโรคธาตุพิการหรืออาหารไม่ย่อยได้
– ช่วยแก้ลมพิษ ด้วยการใช้ใบกะเพราประมาณ 1 กำมือนำมาตำผสมเหล้าขาวแล้วนำมาทาบริเวณที่เป็นลมพิษ
– ใช้เป็นยาสมุนไพร ใช้ไล่หรือฆ่ายุงใช้ทั้งใบสดและกิ่งสด 1 กิ่งใหญ่ ๆ เอาใบมารขยี้ แล้ววางไว้ใกล้ๆ ตัว จะช่วยไล่ยุงได้
และยังสามารถไล่แมลงได้ด้วย น้ำมันกะเพรา เอาใบสดมากลั่น จะได้น้ำมันกะเพรา ซึ่งมีคุณสมบัติไล่ยุงได้ดีกว่าต้นสด ๆ

12 ประโยชน์ดีๆ จาก “โสม” ราชาแห่งสมุนไพร ที่ไม่ได้เหมาะแค่กับคนชรา
สมุนไพร

12 ประโยชน์ดีๆ จาก “โสม” ราชาแห่งสมุนไพร

12 ประโยชน์ดีๆ จาก “โสม” ราชาแห่งสมุนไพร ที่ไม่ได้เหมาะ […]

Read More
ต้านฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 ด้วยการกิน 5 สมุนไพร
สมุนไพร

ต้านฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 ด้วยการกิน 5 สมุนไพร

ต้านฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 ด้วยการกิน 5 สมุนไพร จากสถานการณ์ฝุ […]

Read More
10 ประโยชน์ของดอกคำฝอย และโทษของดอกคำฝอย
สมุนไพร

10 ประโยชน์ของดอกคำฝอย และโทษของดอกคำฝอย

10 ประโยชน์ของดอกคำฝอย และโทษของดอกคำฝอย นอกจาก เจียวกู […]

Read More