สมุนไพรเก๊กฮวย

สมุนไพร
ชื่อสมุนไพร เก๊กฮวย
ชื่ออื่น ๆ / ชื่อท้องถิ่น จวี๋ฮัว (จีน) , เบญจมาศสวน, เบญจมาศหนู (ไทย)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Chrysanthemum morifolium Ramat. (เก๊กฮวยพันธุ์ดอกสีขาว) Chrysanthemum indicum Linn.
(เก๊กฮวยพันธุ์ดอกสีเหลือง)
ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Dendranthema morifolium (Ramat.) Tzvel. (เก๊กฮวยพันธุ์ดอกสีขาว)
Dendranthema indicum Linn. (เก๊กฮวยพันธุ์ดอกสีเหลือง)
ชื่อสามัญ Chrysanthemum , Flower tea , Edible Chrysanthemum, Florist Chrysanthemum.
วงศ์ ASTERACEAE
ถิ่นกำเนิดเก๊กฮวย
เก๊กฮวยหรือเบญจมาศ เป็นพืชที่มีต้นกำเนิดในประเทศจีน แต่ภายหลังได้แพร่กระจายไป ในประเทศต่าง ๆ
เช่น ญี่ปุ่น กัมพูชา ลาว ไทย รวมถึงในยุโรปด้วยพันธุ์เก๊กฮวยที่นิยมปลูก และนำมาต้มเป็นน้ำเก๊กฮวยมากที่สุด
คือ เก๊กฮวยดอกขาว ที่ปลูกมากกว่าร้อยละ 90 ของเก๊กฮวยทั้งหมด โดยเฉพาะที่เมืองหังโจ
ประเทศจีนนอกจากเบญจมาศดอก สีขาวแล้ว ดอกเบญจมาศสีเหลืองขนาดเล็กที่บ้านเราเรียกว่า เบญจมาศหนู
(Chrysanthemum indicum Linn.) ที่มีปลูกในเมืองไทย ก็สามารถนำมาตาก แห้งชงน้ำร้อนเป็นน้ำเก๊กฮวย
ได้เช่นเดียวกันและยังมีสรรพคุณเหมือนกันอีกด้วย
สมุนไพร
ขอบคุณภาพจาก https://pixabay.com/photos/tea-tea-drink-chrysanthemum-tea-fan-3466014/

 

เบญจมาศได้มีการนำเข้ามาปลูกนานมาแล้วโดยคนจีน เท่าที่ปรากฏ ในวรรณคดีเรื่องอิเหนา
พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 แสดงว่าคนไทยสมัยนั้นคุ้นเคย กับเบญจมาศดีแล้ว
และในหนังสืออักขราภิธานศรับท์ของหมอปรัดเล พ.ศ.2416 ก็กล่าวถึงเบญจมาศไว้ว่า “เบญมาศ : เป็นชื่อต้นไม้ดอกเล็กอย่างหนึ่ง”
แสดงว่าคนไทยสมัยนั้นรู้จักเบญจมาศกันแพร่หลายแล้ว ปัจจุบันเบญจมาศถูกนำไปปลูกทั่วโลก โดยเฉพาะในเขตอบอุ่น
ที่มีสภาพภูมิอากาศใกล้เคียง กับประเทศจีนอันเป็นถิ่นกำเนิดดั้งเดิมของเบญจมาศ ในทวีปอเมริกาเหนือและยุโรปมีการปลูก
และพัฒนาสายพันธุ์เบญจมาศออกไปอย่างกว้างขวาง ได้รับการนิยมติดอันดับต้นๆ ของดอกไม้ยอดนิยมเลยทีเดียว ภาษาอังกฤษ
เรียกเบญจมาศว่า Chrysanthemum ในสหรัฐอเมริกาเรียกสั้นๆ ว่า mum ก็เข้าใจกันดีและในอังกฤษถือว่า เบญจมาศ
เป็นดอกไม้ประจำเดือนพฤศจิกายน

สรรพคุณของเก๊กฮวย
1. แก้กระหาย เพิ่มความสดชื่น
2. แก้ร้อนใน มีฤทธิ์เป็นยาเย็น
3. ช่วยยับยั้งเชื้อไวรัสเอดส์ได้
4. ช่วยดูดซับสารก่อมะเร็งและจุลินทรีย์ชนิดต่าง ๆ
5. ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ ภาวะหัวใจล้มเหลว
6. ช่วยบำรุงโลหิต
7. ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต
8. ช่วยในการบำรุงและรักษาสายตา
9. แก้อาการปวดศีรษะ
10. ช่วยบรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด ตาลาย
11. แก้อาการหวัด
12. ช่วยแก้อาการไอ
13. ช่วยขับลม ระบาย
14. ช่วยบำรุงปอด
15. ช่วยบำรุงตับ ไต
16. ช่วยรักษาผมร่วง

ประโยชน์ของดอกเก็กฮวยนั้นโดยส่วนมากแล้วจะนิยมนำมาทำน้ำเก๊กฮวยเพื่อใช้ดื่มแก้กระหาย เพิ่มความสดชื่นให้แก่ร่างกาย
และยังสามารถปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ ทั้งการปลูก ตัดดอกขาย ซึ่งนิยมปลูกพันธุ์ดอกเดี่ยวขนาดใหญ่สีต่าง ๆ
และปลูกเป็นไม้ดอกในกระถาง ไม้ดอกตามข้างทาง สวนสาธารณะ หรือสวนหลังบ้าน เป็นต้น รักษาโรคทางร่างกายภายนอกหรือนอกอวัยวะ
เนื่องมาจากลม และความร้อน อย่างเช่น เริ่มมีไข้ใหม่ ๆ ตามฤดูกาล ทำให้เกิดอาการไข้ ปวดศีรษะ และ ไอ มักใช้ ร่วมกับใบหม่อน เมนทอล
และ สมุนไพรชื่อเหลี่ยงเคี้ยว ( Fructus forsythiae ) นอกจากนี้ยังใช้กับอาการหวัดเนื่องจากอาการร้อน ใช้สำหรับอาการตาบวม
แดง และปวดตา ตามองไม่ชัด หรือเบลอ และอาการอ่อนแรง สำหรับอาการตาบวมแดง ปวดตาเนื่องมาจากลม และความร้อนกระทบต่อ
ตับ หรือ ไฟในตับมาก มักใช้ร่วมกับ ใบหม่อน ชุมเห็ดไทย และหญ้าเล่งต้า ( Radix gentianae ) สำหรับการพร่องของตับ และไต
พร้อมกับอาการตามัว อาจใช้ร่วมกับ เก๋ากี้ เส็กตี่ ( Radix Rehmanniae Praeparata ) ใช้สำหรับการมึนศีรษะ และปวดหัว
เนื่องจากการกำเริบของหยางในตับ สามารถใช้ร่วมกับ โกฐสอ และอื่น ๆ กรณีเป็นฝีเป็นหนอง บวมและเป็นพิษ อาจใช้ดอกสด
แล้วนำมาบดผสมน้ำ แล้วดื่ม แล้วนำกากมาพอก อาการอักเสบที่ตา อาจใช้พอกโดยตำดอกสดประคบภายนอกดวงตา
ช่วยกระตุ้นระบบย่อยอาหาร โดยเฉพาะดื่มชาเก๊กฮวยร้อน ๆ จะช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดียิ่งขึ้น และช่วยบรรเทาอาการปวดท้อง
จากอาหารไม่ย่อย รักษาผมร่วง โดยเชื่อว่าดอกเก๊กฮวยสามารถรักษาอาการผมร่วง ช่วยให้สีผมดำ เงางาม ไม่เปลี่ยนเป็นสีเทาก่อนวัยอันควร

ส่วนในทางการแพทย์แผนปัจจุบันมีการศึกษาวิจัยระบุว่าเก๊กฮวยสามารถช่วย ลดความดันโลหิต เพราะสมุนไพรชนิดนี้
ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดและต้านกระบวนการอักเสบ ซึ่งอาจส่งผลดีต่อการรักษาและป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงได้
ซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะจากความดันโลหิตสูง และมีฤทธิ์ลดระดับความดันโลหิตลงได้ รักษาโรคเบาหวาน
การบริโภคเก๊กฮวยหรือผลิตภัณฑ์จากเก๊กฮวยอาจช่วยต้านโรคเบาหวานได้ เพราะสารประกอบในเก๊กฮวยอย่างสารฟีนอล
และฟลาโวนอยด์อาจช่วยยับยั้งการทำงานเอนไซม์ที่มีผลต่อการดูดซึมน้ำตาลบางชนิดและอาจเป็นผลดีต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
ซึ่งอาจเป็นผลดีต่อการรักษาโรคเบาหวานได้ ต้านมะเร็งต่อมลูกหมากคาดว่าการบริโภคเก๊กฮวยอาจช่วยลดความเสี่ยงของโรคมะเร็ง
ต่อมลูกหมากได้ เนื่องจากเก๊กฮวยประกอบด้วยสารในกลุ่มฟลาโวนอยด์ที่เชื่อกันว่ามีฤทธิ์ต้านการอักเสบ และยับยั้ง
การผลิตฮอร์โมนแอนโดรเจนที่มีบทบาทในการควบคุมการเจริญเติบโตของต่อมลูกหมาก

รูปแบบและขนาดวิธีใช้
ช่วยดับพิษร้อนในร่างกาย แก้อาการร้อนใน แก้กระหาย แก้ไข้ โดยใช้ดอกเก๊กฮวยแห้งประมาณ 5-9 กรัม ต้มกิน หรือทำเป็นชา
แล้วดื่มในปริมาณที่เหมาะสม รักษาแผลฝีหนอง และแผลบวม โดยใช้ดอกเก๊กฮวยสด 1 กำมือ ล้างให้สะอาด บดผสมน้ำแล้วดื่ม
จากนั้นนำกากดอกเก๊กฮวยมาพอกตามแผล ใช้เก๊กฮวย แก้หวัด แก้ร้อนใน แก้อาการตาเจ็บ ตาบวม ขนาดการใช้ ใช้ดอกแห้ง
ประมาณ 5-9 กรัม ต้มกิน หรือทำเป็นชา ต้มดื่มในปริมาณที่เหมาะสม นอกจากนี้ดอกเก๊กฮวยยังสามารถนำไปใช้ร่วมกับสมุนไพรอื่น ๆ
เพื่อช่วยบำบัดรักษาโรคต่าง ๆ ได้อีกหลายตำรับอีกด้วย

ลักษณะทั่วไปเก๊กฮวย
เบญจมาศเป็นต้น เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็กสูงประมาณ 30-90 เซนติเมตร แตกกิ่งก้านสาขาไม่มาก ตามกิ่งก้านและลำต้นมีขนอ่อนปกคลุม
ใบยาวรี ขอบใบจัก ใบสีเขียวอ่อนนุ่มมีขนอ่อน ทั้งกิ่งก้านและใบของเบญจมาศมีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว ดอกออกตรงปลายกิ่ง อาจออกเป็นช่อ
หรือเป็นดอกเดี่ยวแล้วแต่สายพันธุ์ รูปร่างดอก ทรงกลมคล้ายทานตะวัน หรือบานชื่น มีกลีบเรียวยาวเรียงซ้อนกันโดยรอบหลายชั้น ลักษณะกลีบ
ดอกบางสายพันธุ์ยาวมากและบิดม้วน มีชื่อเรียกเฉพาะว่าดอกประเภทแมงมุม (spider) ดอกเบญจมาศมีหลายขนาด ตั้งแต่ขนาดโตมาก
ไปจนถึง ดอกขนาดเล็กประมาณ 1เซนติเมตร มีสีหลากหลาย เช่น เหลือง ขาว ชมพู ม่วง แดง เป็นต้น

แต่ในกลุ่มของดอกเบญจมาศทั้งหมดมี 2 ชนิด ที่นิยมนำมาทำน้ำเก็กฮวย หรือที่เรียกว่าดอกเก็กฮวย คือ
เก๊กฮวยดอกขาว แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ เก๊กฮวยขาวดอกใหญ่ มีลักษณะทั่วไป คือ ลำต้น ตรง แข็ง เป็นพุ่มใหญ่ ใบมีขนาดใหญ่ สีเขียวเข้ม
ก้านใบมีสีม่วงอมเขียว ดอกมีสีขาว ขนาดใหญ่ ขนาดประมาณ 4.7-5 เซนติเมตร กลีบดอกมี 5-6 ชั้น มีกลีบดอกประมาณ 90 กลีบ
เมื่อนำมาตากแดด ดอกจะแห้งเร็ว เก๊กฮวยขาวดอกเล็ก มีลักษณะทั่วไป คือ ลำต้นตรง เป็นพุ่มเล็ก ลำต้นค่อนข้างอ่อน
ดอกมีขนาดประมาณ 4.5 เซนติเมตร เล็กกว่าพันธุ์แรก ส่วนกลีบดอกมีมากกว่าที่ 6-7 ชั้น มีจำนวนกลีบดอกประมาณ 120 กลีบ
ส่วนสีดอกมีสีขาวอมสีเนื้อ ดอกเมื่อนำมาต้มจะให้กลิ่นหอมกว่าดอกใหญ่ แต่อาจมีรสขมปนเล็กน้อยเก๊กฮวยดอกเหลือง มีลักษณะทั่วไป
คือ กลีบดอกมีสีเหลือง และให้รสขมมากกว่าพันธุ์ดอกขาวแต่ก็สามารถนำมาใช้ได้เหมือกันและมีสรรพคุณคล้ายกัน

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง
– สำหรับดอกเก๊กฮวยจะที่นำมาใช้ควรเป็นดอกสีขาวหรือดอกสีเหลือง และไม่ใช่สายพันธุ์ที่เก็บมาจากในป่าเพราะอาจเป็นคนละชนิดกัน
– สำหรับผู้ที่เป็นโรคกระเพาะอาหาร การดื่มชาเก็กฮวยอาจทำให้เกิดกรดในกระเพาะเพิ่มมากขึ้น
– ผู้ที่มีปัญหาเรื่องระบบขับถ่าย หรือมีอาการท้องเสียง่าย ควรดื่มน้ำเก๊กฮวยในปริมาณที่พอเหมาะ
– เก๊กฮวยเป็นพืชในวงศ์เดียวกับเบญจมาศ ผู้ที่มีอาการแพ้พืชตระกูลนี้มีแนวโน้มแพ้เก๊กฮวยได้เช่นกัน จึงควรปรึกษาแพทย์
ก่อนรับประทานเก๊กฮวย และใช้ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ จากเก๊กฮวยด้วยความระมัดระวัง หากพบความผิดปกติหลังการบริโภค
เช่น มีผื่น มีความผิดปกติในการหายใจ หรือมีอาการอื่น ๆ เกิดขึ้น ควรหยุดใช้และไปพบแพทย์ทันที
– เก๊กฮวยอาจทำปฏิกิริยากับยาบางชนิด ผู้ที่รับประทานยาเป็นประจำหรือผู้ที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทาน
หรือใช้ผลิตภัณฑ์ใด ๆ จากเก๊กฮวย
– น้ำมันที่ได้จากการสกัดดอกเก๊กฮวยจะประกอบด้วยสารไพรีทรัม (Pyrethrum) ซึ่งเหมือนสารประกอบในยาฆ่าแมลง
ดังนั้นจึงควรใช้น้ำมันชนิดนี้ด้วยความระมัดระวัง เพราะการสัมผัสโดนโดยตรงหรือใช้เป็นเวลานานอาจก่อให้เกิดการระคายเคือง
กับผิวหนัง ปาก ตา และจมูกได้

 

12 ประโยชน์ดีๆ จาก “โสม” ราชาแห่งสมุนไพร ที่ไม่ได้เหมาะแค่กับคนชรา
สมุนไพร

12 ประโยชน์ดีๆ จาก “โสม” ราชาแห่งสมุนไพร

12 ประโยชน์ดีๆ จาก “โสม” ราชาแห่งสมุนไพร ที่ไม่ได้เหมาะ […]

Read More
ต้านฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 ด้วยการกิน 5 สมุนไพร
สมุนไพร

ต้านฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 ด้วยการกิน 5 สมุนไพร

ต้านฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 ด้วยการกิน 5 สมุนไพร จากสถานการณ์ฝุ […]

Read More
10 ประโยชน์ของดอกคำฝอย และโทษของดอกคำฝอย
สมุนไพร

10 ประโยชน์ของดอกคำฝอย และโทษของดอกคำฝอย

10 ประโยชน์ของดอกคำฝอย และโทษของดอกคำฝอย นอกจาก เจียวกู […]

Read More