
ชื่อสมุนไพร หม่อน
ชื่ออื่น ๆ / ชื่อท้องถิ่นมอน มอน (ภาคอีสาน) , ซางเย่ (จีนกลาง) , ซึงเฮียะ , ซึงเอี๊ยะ (จีนแต้จิ๋ว) , มัลเบอร์รี่ (ประเทศตะวันออก)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Morus alba Linn.
ชื่อสามัญ Mullberry tree ,White Mulberry.
วงศ์ MORACEAE
ถิ่นกำเนิดหม่อน
โดยทั่วไปแล้วหม่อนที่เรารู้จักกันจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด ได้แก่ หม่อนที่ปลูกเพื่อรับประทานผล (ชื่อสามัญ Black Mulberry, ชื่อวิทยาศาสตร์ Morus nigra L.)
ชนิดนี้ผลจะโตเป็นช่อ เมื่อสุกผลจะเป็นสีดำ มีรสเปรี้ยวอมหวาน นิยมนำมารับประทาน ทำแยม หรือนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
ส่วนอีกชนิดนั้นก็คือ หม่อนที่ใช้ปลูกเพื่อการเลี้ยงไหมเป็นหลัก (ชื่อสามัญ White Mulberry, ชื่อวิทยาศาสตร์ Morus alba L.)
ซึ่งเป็นชนิดที่เรากำลังกล่าวถึงในบทความนี้ สำหรับหม่อน (Morus alba Linn.) เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดบริเวณเทือกเขาหิมาลัย
ทางตอนใต้ของประเทศจีนแล้ว มีการแพร่กระจายพันธุ์โดยการนำเช้าไปปลูกตามประเทศภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ฟิลิปปินส์
อินโดนีเซีย, ไทย รวมไปถึงยังมีการนำไปปลูกที่ประเทศญี่ปุ่นอีกด้วย ในส่วนของประเทศไทยนั้น คาดว่าน่าจะมีการนำหม่อน
เข้ามาปลูกตั้งแต่ต้นรัตนโกสินทร์เพราะปรากฎหลักฐานว่าในสมัยรัชกาลที่ 5 ไม่มีการก่อตัว”กรมช่างไหม”ขึ้นในปี พ.ศ. 2446
และในปัจจุบันการปลูกหม่อนส่วนใหญ่มักจะปลูกกันมากทางภาคเหนือและภาคอีสาน

ลักษณะทั่วไปหม่อน
ต้นหม่อน จัดเป็นไม้พุ่มขนาดกลางหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีลำต้นตั้งตรง สูงได้ประมาณ 2.5 เมตร บางพันธุ์สูงได้ประมาณ 3-7 เมตร
แตกกิ่งก้านไม่มากนัก เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลแดง สีขาวปนสีน้ำตาล หรือสีเทาปนขาว ส่วนเปลือกรากเป็นสีน้ำตาลแดงหรือสีเหลือแดง
มีเส้นร้อยแตกที่เปลือกผิว ใบหม่อน เดี่ยว เรียงสลับ ลักษณะเป็นแบบรูปไข่ หรือรูปไข่กว้าง ขอบเรียบหรือหยักเว้าเป็นพู ขึ้นกับพันธุ์
กว้าง 8-14 เซนติเมตร ยาว 12-16 เซนติเมตร ผิวใบสากคาย ปลายเรียวแหลมยาว ฐานใบกลม หรือรูปหัวใจ หรือค่อนข้างตัด
ใบอ่อนขอบจักเป็นพูสองข้างไม่เท่ากัน ขอบพูจักเป็นซี่ฟัน เส้นใบมี 3 เส้น ออกจากโคนยาวไปถึงกลางใบ และเส้นใบออกจากเส้นกลางใบ 4 คู่
เส้นร่างแหเห็นชัดด้านล่าง ใบสีเขียวเข้ม ผิวใบสากคาย ก้านใบเล็กเรียว ยาว 1.0-1.5 เซนติเมตร หูใบรูปแถบแคบปลายแหลม
ยาว 0.2-0.5 เซนติเมตร ดอกออกเป็นช่อ รูปทรงกระบอกออกที่ซอกใบ และปลายยอด แยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ช่อดอกเพศผู้
และช่อดอกเพศเมียอยู่ต่างช่อกัน วงกลีบรวมสีขาวหม่น หรือสีขาวแกมเขียว ช่อดอกเป็นหางกระรอก ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร
ดอกเพศผู้ วงกลีบรวมมี 4 แฉก เกลี้ยง เกสรเพศเมีย วงกลีบรวมมี 4 แฉก เกลี้ยง ขอบมีขน ผลหม่อน เป็นผลที่เกิดจากช่อดอก
ผลเป็นผลรวมอยู่ในกระจุกเดียวกัน โดยจะออกตามซอกใบ ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกระบอก ยาวประมาณ 1-2.5 เซนติเมตร
ผลเป็นสีเขียว เมื่อผลสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงแดงเข้มหรือสีม่วงดำ เกือบดำ เนื้อนิ่ม ฉ่ำน้ำ และมีรสหวานอมเปรี้ยว
ประโยชน์และสรรพคุณของหม่อน
1. เป็นยาขับเหงื่อ แก้ไข้ แก้ตัวร้อน
2. แก้ร้อนในกระหายน้ำ
3. แก้เจ็บคอ และทำให้เนื้อเยื่อชุ่มชื้น
4. แก้ไอ
5. เป็นยาระงับประสาท
6. แก้ตาแดง แฉะ ฝ้าฟาง
7. แก้ริดสีดวงจมูก
8. ขับพยาธิ และเป็นยาสมาน
9. แก้อาการติดเชื้อ
10. รักษาแผลจากการนอนกดทับ
11. เป็นยาระบายอ่อนๆ
12. แก้ธาตุไม่ปกติ
13. แก้โรคปวดข้อ
14. ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
15. ช่วยลดไขมันในเลือด
16. ช่วยแก้อาการท้องผูก
17. ช่วยรักษาอาการปัสสาวะสีเหลือง มีกลิ่นฉุนอันเกิดจากความร้อนภายใน
18. ช่วยแก้ข้อมือข้อเท้าเกร็ง แก้โรคปวดข้อ ไขข้อ
19. ช่วยบำรุงเส้นผมให้ดกดำ
20. ช่วยจัดความร้อนในปอด และกระเพาะอาหาร
รูปแบบและขนาดวิธีใช้
– ใบ 5-9 กรัม ต้มเอาน้ำดื่ม แก้อาการปวดศีรษะ ตาลาย และเวียนศีรษะ รักษาโรคเบาหวาน ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
ด้วยการใช้เปลือกรากประมาณ 90-120 กรัม นำมาทุบให้แหลก แล้วนำมาต้มกับน้ำดื่มเช้าและเย็น
หรือจะใช้ใบนำมาทำเป็นชาเขียวใช้ชงกับน้ำดื่มก็ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้เช่นกัน
– ใบนำมาอังไฟและทาด้วยน้ำมันมะพร้าว ใช้วางบนแผลหรือตำใช้ทาแก้แมลงกัด เปลือกรากแห้ง ให้ใช้ครั้งละ 6-15 กรัม
ส่วนใบแห้งให้ใช้ครั้งละ 6-15 กรัม, ส่วนผลแห้งให้ใช้ครั้งละ 10-15 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน ช่วยแก้อาการท้องผูก
ปวดข้อและไขข้อ , ช่วยรักษาภาวะตับและไตพร่อง , ขับปัสสาวะ , ขับน้ำในปวด , ทำให้เลือดเย็น , แก้เจ็บคอ , แก้ไอ
แก้กระหายน้ำ , ปวดศีรษะ ฯลฯ
ในอดีต การปลูกหม่อนมุ่งเน้นไปที่การเก็บใบหม่อนไปเลี้ยงไหม ต่อมาได้มีการวิจัยและพัฒนางานวิจัยการแปรรูปหม่อน
เพื่อใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ นอกเหนือไปจากการเลี้ยงไหม เช่น ผลสุกมีรสหวานอมเปรี้ยว สามารถนำมารับประทานเล่นเป็นผลไม้ได้
และยังนิยมนำใบมาตากแห้ง และชงดื่มเป็นน้ำชาใบหม่อน ซึ่งจะให้กลิ่นหอมมีเอกลักษณ์ และรสชาติเหมือนชา แต่อมหวานเล็กน้อย
บางท้องถิ่น เช่น ภาคอีสาน ภาคเหนือ นิยมใบมาปรุงอาหารในเมนูจำพวกต้มต่าง ซึ่งจะเพิ่มรสชาติให้อร่อยมากยิ่งขึ้นรวมถึงยังมีการนำมา
ใส่แกงเพื่อใช้ทดแทนผงชูรสได้อีกด้วย
ผลหม่อน ยังสามารถนำไปแปรรูปเป็นอาหารหรือผลิตภัณฑ์ได้หลายอย่าง เช่น แยม เยลลี่ ข้าวเกรียบ ขนมพาย ไอศกรีม
นำมาแช่อิ่ม ทำแห้ง ลูกอมหม่อน ทำน้ำหม่อน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประเภทไวน์ หรือไวน์หม่อนมาตั้งแต่ พ.ศ.2535
ทำให้ผลหม่อนกลายมาเป็นอาหารและเครื่องดื่มที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพและปลอดภัยต่อมนุษย์ เนื้อไม้มีสีเหลือง
เนื่องจากมีสาร Morin สามารถนำมาใช้ย้อมผ้าไหม ผ้าแพรได้และเยื่อจากเปลือกของลำต้นและกิ่งมีเส้นใย
สามารถนำมาเป็นกระดาษได้ เช่นเดียวกับกระดาษสาลำต้นและกิ่ง ยังสามารถนำมาใช้เป็นไม้ในการสร้างผลิตภัณฑ์บางชนิดได้อีกด้วย
ข้อแนะนำและข้อควรระวัง
– การเลือกใบหม่อนเพื่อทำยา หรือทำชาสำหรับดื่ม ควรเลือกใบเขียวสด ดูอวบทั่วทั้งใบ
– ไม่ควรใช้ใบหม่อนต่อเนื่อง และในปริมาณที่มาก ๆ เพราะอาจได้รับสารแทนนินที่มีผลต่อระบบการต่อระบบการย่อยอาหารในกระเพาะอาหาร
ทำให้เกิดท้องอืด อาหารไม่ย่อยได้
– หากพบมีอาการแพ้หรือมีผลผิดปกติในร่างกายจากการใช้ใบหม่อนให้หยุดการใช้ทันที
– ผู้ป่วยที่ใช้ยารักษาเบาหวานในกลุ่มที่ออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ α-glucosidase เช่น Acarbose
ควรระมัดระวังในการใช้หม่อนร่วมกับยานี้ เนื่องจากหม่อนมีฤทธิ์ยับยั้ง α-glucosidase ได้เช่นกัน
ดังนั้นหม่อนอาจจะไปเสริมฤทธิ์ของยา ทำให้น้ำตาลในเลือดลดต่ำลงมากได้