สมุนไพรตะไคร้

สมุนไพร

ชื่อสมุนไพร ตะไคร้
ชื่ออื่นๆ / ชื่อท้องถิ่น จักไคร (ภาคเหนือ) , คาหอม (ไทใหญ่แม่ฮ่องสอน) , ไคร (ภาคใต้) , สิงไคร , หัวสิงไคร (อีสาน)
ห่อวอตะโป่ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน) , เชิดเกรย , เหลอะเกรย (เขมร)
ชื่อสามัญ Lemongrass, West Indian lemongrass , Sweet rush
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cymbopogon citratus (DC.) Stapf
วงศ์ GRAMINEAE

สมุนไพร
ขอบคุณภาพจาก https://pixabay.com/photos/cymbopogon-lemongrass-cooking-4756565/

ถิ่นกำเนิดตะไคร้
ตะไคร้เป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่งที่ผูกพันกับวิถีชีวิตของคนไทยเรามาตั้งแต่อดีตแล้ว ทั้งนี้เพราะตะไคร้
เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในแถบเขตร้อนของทวีปเอเชีย เช่น ไทย , พม่า , ลาว , มาเลเซีย , อินโดนีเซีย
อินเดียว , ศรีลังกา เป็นต้นและยังสามารถพบได้ในประเทศเขตร้อนบางประเทศในแถบอเมริกาใต้
เช่นกัน โดยทั่วไปแล้ว ตะไคร้จัดเป็นพืชล้มลุกตระกูลหญ้าและสามารถแบ่งออกเป็น 6 ชนิด
ได้แก่ ตะไคร้หอม ตะไคร้กอ ตะไคร้ต้น ตะไคร้น้ำ ตะไคร้หางนาค และตะไคร้หางสิงห์

ประโยชน์และสรรพคุณตะไคร้
1. ช่วยขับลม
2. ลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อแน่นจุกเสียด
3. แก้อาการเกร็ง
4. ช่วยขับเหงื่อ
5. แก้โรคทางเดินปัสสาวะ แก้อาการขัดเบา
6. แก้นิ่ว แก้ปัสสาวะเป็นเลือด
7. แก้เบื่ออาหาร ทำให้เจริญอาหาร
8. ช่วยย่อยอาหาร
9. ลดความดันโลหิต
10. แก้กระษัย
11. เป็นยารักษาเกลื้อน
12. แก้ไข้หวัด
13. ขับประจำเดือน ขับระดูขาว
14. ใช้ภายนอกทาแก้อาการปวดบวมตามข้อ
15. ช่วยขับเหงื่อ แก้กระหายน้ำ
16. ช่วยป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
17. บรรเทาอาการหวัด อาการไอ มีเสมหะ
18. ช่วยบรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ
19. ช่วยในการรักษาอหิวาตกโรค

รูปแบบและขนาดวิธีใช้
ใช้รักษาอาการขัดเบา เหง้าและลำต้นสด หรือแห้ง 1 กำมือ หรือน้ำหนักสด 40-60 กรัม แห้ง 20-30 กรัม
ทุบต้มกับน้ำพอควร แบ่งดื่ม 3 ครั้ง ๆ ละ 1 ถ้วยชา (75 มิลิลิตร) ก่อนอาหาร หรือจะหั่นตะไคร้ คั่วด้วยไฟอ่อน ๆ
พอเหลือง ชงด้วยน้ำเดือด ปิดฝาทิ้งไว้ 5-10 นาที ดื่มแต่น้ำ 3 ครั้ง ครั้งละ 1 ถ้วยชา ก่อนอาหาร
ใช้รักษาท้องอืดท้องเฟ้อแน่นจุกเสียด ใช้เหง้าและลำต้นสด1 กำมือ น้ำหนัก 40-60 กรัม ทุบพอแตก
ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เดือด 5-10 นาที ดื่มแต่น้ำ ครั้งละ 1/2 แก้ว วันละ 3 ครั้งหลังอาหาร

การใช้ตะไคร้รักษาอาการแน่นจุกเสียด ตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข (สาธารณสุขมูลฐาน)
1. นำตะไคร้ทั้งต้นรวมทั้งรากจำนวน 5 ต้น สับเป็นท่อน ต้มกับเกลือ เติมน้ำต้ม 3 ส่วน
ให้เหลือ 1 ส่วน ดื่มครั้งละ 1 ถ้วยแก้ว ติดต่อกัน 3 วัน จะหายปวดท้อง
2. นำลำต้นแก่สดๆทุบพอแหลกประมาณ 1 กำมือ (40-60 กรัม) ต้มเอาน้ำดื่ม

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง
การบริโภคตะไคร้หรือการใช้ตะไคร้ทาบนผิวหนังเพื่อจุดประสงค์ทางการรักษาโรค
อาจจะปลอดภัยหากใช้ตะไคร้ในช่วงเวลาสั้น ๆ ภายใต้การดูแลและคำแนะนำจากแพทย์
การสูดดมสารที่มีส่วนประกอบของตะไคร้ อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายและเป็นพิษต่อร่างกายได้
ในผู้ป่วยบางราย เช่น ผู้มีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพปอดปรึกษาแพทย์ เภสัชกร
และศึกษาข้อมูลบนฉลากให้ถี่ถ้วนก่อนใช้ผลิตภัณฑ์ใด ๆ ที่มีสารสกัดมาจากตะไคร้ก่อนเสมอ
เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดผลข้างเคียงที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหลังการบริโภค
ระวังการใช้ตะไคร้และผลิตภัณฑ์จากตะไคร้ในคนที่เป็นต้อหิน (glaucoma) เนื่องจาก citral จะทำให้ความดันในลูกตาเพิ่มขึ้น

12 ประโยชน์ดีๆ จาก “โสม” ราชาแห่งสมุนไพร ที่ไม่ได้เหมาะแค่กับคนชรา
สมุนไพร

12 ประโยชน์ดีๆ จาก “โสม” ราชาแห่งสมุนไพร

12 ประโยชน์ดีๆ จาก “โสม” ราชาแห่งสมุนไพร ที่ไม่ได้เหมาะ […]

Read More
ต้านฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 ด้วยการกิน 5 สมุนไพร
สมุนไพร

ต้านฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 ด้วยการกิน 5 สมุนไพร

ต้านฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 ด้วยการกิน 5 สมุนไพร จากสถานการณ์ฝุ […]

Read More
10 ประโยชน์ของดอกคำฝอย และโทษของดอกคำฝอย
สมุนไพร

10 ประโยชน์ของดอกคำฝอย และโทษของดอกคำฝอย

10 ประโยชน์ของดอกคำฝอย และโทษของดอกคำฝอย นอกจาก เจียวกู […]

Read More