สมุนไพรชะพลู

ชื่อสมุนไพร ชะพลู (ช้าพลู)
ชื่ออื่นๆ ผักปูนก (ลำปาง) ช้าพลู (ภาคกลาง) ชะพลูเถา เฌอภลู (สุรินทร์) ผักปูนา ผักปูลิง ผักปูริง ปูลิงนก ผักพลูนก ผักอีไร ผักอีเลิศ (ภาคอีสาน)
พลูลิง (ภาคเหนือ) เย่เท้ย (แม่ฮ่องสอน)พลูนก ผักปูนก (พายัพ) พลูลิงนก (เชียงใหม่) นมวา (ใต้) ปู้,ปู๊ (ไทยใหญ่)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Piper samentosum Roxb.
ชื่อวงศ์ PIPERACEAE

ถิ่นกำเนิดชะพลู
ชะพลูมีถิ่นกำเนิดที่หมู่เกาะมาเลย์ และหมู่เกาะชวา ซึ่งเป็นหมู่เกาะที่ค้าขายเครื่องเทศในอดีต เมื่อมีการติดต่อซื้อขายเครื่องเทศ จึงแพร่กระจายสู่พื้นที่ใกล้เคียงต่างๆ
ที่มีสภาพอากาศเอื้ออำนวยต่อการขยายพันธุ์ชะพลู

ชะพลู

ลักษณะทั่วไปชะพลู
• ลำต้นชะพลู ลำต้นมีลักษณะตั่งตรง สูงประมาณ 30-50 ซม. สีเขียวเข้ม มีข้อเป็นปม แตกกอออกเป็นพุ่ม เติบโตได้ดีในพื้นที่ดินชุ่ม
• ใบชะพลู ใบมีสีเขียวสดถึงเขียวแก่ ก้านใบยาว 1-3 ซม. ลักษณะใบเป็นใบเดี่ยว คล้ายรูปหัวใจ ใบกว้าง 5-10 เซนติเมตร ยาว 7-15 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบเว้า ผิวมันออกมัน
แทงใบออก 2 ใบตรงข้ามกัน มีเส้นใบประมาณ 7 เส้น แทงออกจากฐานใบ
• ดอกชะพลู ดอกเป็นช่อ ทรงกระบอก ชูตั้งขึ้น ดอกอ่อนมีสีขาว เมื่อแก่จะออกสีเขียว รูปทรงกระบอก แทงดอกบริเวณปลายยอด และช่อใบ ก้านช่อดอกยาวประมาณ 1.5 ซม.
ดอกเป็นดอกแยกเพศ
• ผลชะพลู ผลเจริญบนช่อดอก มีลักษณะเป็นผลสีเขียว ผิวมัน มีลักษณะกลมเล็กฝังตัวในช่อดอกหลายเมล็ด มักออกดอกมากในฤดูฝน

การขยายพันธุ์ชะพลู
ชะพลูเป็นพืชที่เติบโตได้ดีในทุกสภาพดิน ชอบดินร่วนซุย มีอินทรียวัตถุมาก และมีความชุ่มชื้น ชอบแสงรำไร จึงมักพบชะพลูโตดีในพื้นที่ชื้น มีร่มเงา โดยเฉพาะบริเวณใต้ร่มไม้
ชะพลูสามารถขยายพันธุ์ด้วยการแยกเหง้าหรือหน่อออกปลูก เหง้าที่แยกอาจเป็นต้นอ่อนหรือต้นแก่เพียง 2-3 ต้น ก็สามารถแตกกอใหญ่ได้
การให้น้ำ ควรให้น้ำสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในฤดูแล้งที่มักขาดแคลนน้ำ ส่วนในฤดูฝนต้นชะพลูสามารถเติบโตได้ดีเพียงอาศัยน้ำฝนตามธรรมชาติ

ประโยชน์และสรรพคุณชะพลู
สามารถช่วยเจริญอาหาร
ช่วยขับเสมหะ ทำเสมหะให้งวด
ทำให้เลือดลมซ่าน
แก้ธาตุพิการ
รักษาโรคเบาหวาน
ช่วยทำให้ระบบหมุนเวียนโลหิตดี
แก้ศอเสมหะ ทำให้เสมหะแห้ง
ช่วยย่อยอาหาร
ช่วยขับลมในลำไส้
ช่วยขับเสมหะให้ตกทางทวารหนัก
ช่วยบำรุงธาตุ
แก้เบาเหลือง ขัดเบา ปวดเอ็น
แก้ปวดท้องแน่นจุกเสียด แก้ไข้ดีซ่าน ดีกระตุก บำรุงน้ำดี
รักษาโรคบิด
ยับยั้งการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ ลดการบีบตัวของลำไส้เล็ก
ช่วยในการขับเสมหะทางอุจจาระ
ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน และช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ วิธีใช้ชะพลูตามภูมิปัญญาไทย
• แก้เบาหวาน เอาต้นชะพลู ทั้ง 5 (เอาทั้งต้นตลอกถึงราก) มา 1 กำมือ พับเป็น 3 ทบใช้ ตอกไม้ไผ่มัดเป็น 3 เปราะ ใส่หม้อดินต้มกับน้ำ 3 ขัน เคี่ยวเหลือ 1 ขัน
รับประทานครั้งละครึ่งแก้ว วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร ได้ผลชะงัดหรือจะเอาใบชะพลูทั้งต้นและใบ 9 ต้น ล้างน้ำให้สะอาด ใส่ในภาชนะพร้อมด้วยน้ำ 2 ถ้วยแก้ว ต้มเคี่ยวให้เหลือครึ่งถ้วยแก้ว
รับประทานให้หมดก่อนอาหารเย็น โดยรับประทาน 15 วันต่อครั้ง เมื่อรับประทานไปได้ 2 ครั้ง ภายใน 30 วันแล้ว ลองไปพบแพทย์เพื่อให้แพทย์กรวดน้ำปัสสาวะ หากปกติให้หยุด
ถ้ายังมีน้ำตาลในปัสสาวะให้ต้มรับประทานต่อ
• แก้ขัดเบา เอาต้นแจงทั้ง 5 หนัก 3 ตำลึง ช้าพลู หนัก 3 ตำลึง แก่น ไม้สัก 3 ตำลึง ตัวยาทั้ง3 นี้ ใส่หม้อดิน กับน้ำ 3 ส่วน ต้มเคี่ยว ให้เหลือ 1 ส่วน ใช้น้ำยารับประทาน เช้า-เย็น แก้ขัดเบาได้ผลชะงัก
• เจริญอาหาร บำรุงธาตุ ขับเสมหะ นำใบชะพลูมาจิ้มน้ำพริก หรือกะปิหลน น้ำพริกปลาป่น หรือจะนำใบชะพลูมาทำเมี่ยงคำ ทานวันละ อย่างน้อย ๗ ใบ ทุกวัน จะทำให้ธาตุปกติ
เจริญอาหาร ขับเสมหะได้ดี
• แก้โรคเส้นเลือดในร่างกายแข็ง ซึ่งโรคดัง 18 กล่าวมีคนเป็นกันมาก เมื่อเป็นแล้วทำให้เลือดที่จะไปหล่อเลี้ยงหัวใจและสมองมีปัญหา ก่อให้ เกิดอาการเส้นโลหิตแตกหรือหัก เสียชีวิตได้
โดยเอา “ชะพลู” ทั้งต้นรวมราก จำนวน 3 ต้น ต้มกับน้ำ 1 ลิตร ตักดื่มครั้งละครึ่งแก้ว เช้าเย็น ดื่มจนตัวยาจืดแล้วเปลี่ยนยาใหม่ ดื่มให้ครบ 15 วัน จึงหยุด จากนั้นไปให้แพทย์ตรวจดู
จะพบว่าอาการที่เป็นจะหายไป โดยไม่มีผลข้างเคียงใด ๆ
• แก้ท้องอืดเฟ้อ ขับลม ใช้ราก 1 กำมือ ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 1 1/2 ถ้วยแก้ว รับประประทานครั้งละ 1/2 ถ้วยแก้ว
• แก้บิด ใช้รากครึ่งกำมือ ผล 2-3 หยิบมือ ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 1 ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละ 1/4 ถ้วยแก้ว

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

ไม่ควรรับประทานใบชะพลูมากเกินไป เพราะจะทำให้เกิดอาการเวียนศรีษะ และทำให้มีการสะสมของสารออกซาเลท (Oxalate) ในร่างกายสูง ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดโรคนิ่วในไต
เวลารับประทานควรปรุงร่วมกับอาหารประเภทเนื้อสัตว์ จะช่วยให้ย่อยง่ายขึ้นในการใช้รักษาโรคเบาหวานจะต้องคอยตรวจน้ำตาลในปัสสาวะก่อนและหลังดื่มน้ำทุกครั้ง
เพราะยานี้ทำให้น้ำตาลลดลงเร็วมาก และในการต้มจะต้องเปลี่ยนต้นชะพลูใหม่ทุกวัน

12 ประโยชน์ดีๆ จาก “โสม” ราชาแห่งสมุนไพร ที่ไม่ได้เหมาะแค่กับคนชรา
สมุนไพร

12 ประโยชน์ดีๆ จาก “โสม” ราชาแห่งสมุนไพร

12 ประโยชน์ดีๆ จาก “โสม” ราชาแห่งสมุนไพร ที่ไม่ได้เหมาะ […]

Read More
ต้านฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 ด้วยการกิน 5 สมุนไพร
สมุนไพร

ต้านฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 ด้วยการกิน 5 สมุนไพร

ต้านฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 ด้วยการกิน 5 สมุนไพร จากสถานการณ์ฝุ […]

Read More
10 ประโยชน์ของดอกคำฝอย และโทษของดอกคำฝอย
สมุนไพร

10 ประโยชน์ของดอกคำฝอย และโทษของดอกคำฝอย

10 ประโยชน์ของดอกคำฝอย และโทษของดอกคำฝอย นอกจาก เจียวกู […]

Read More