รู้ทัน!! อาหารแปรรูปปลอดภัย เลือกอย่างไรถึงดีต่อร่างกาย

ปัจจุบันนี้ด้วยเวลาที่เร่งรีบไปหมดทุกอย่าง การใช้ชีวิตของหลายๆ คน จึงต้องพึ่งอาหารแปรรูป แบบเอาเข้าไมโคเวฟ 1-2 นาทีก็สามารถรับประทานได้แล้ว ไม่ต้องในเวลานานในการทำสะดวกต่อสังคมยุดนี้ที่รีบเร่งตลอดเวลา การแปรรูปอาหารมีวิธีการทำต่างๆที่ป่านกระบวนการทำอย่างพิถีพถันที่ได้มาตรฐาน ปลอดภัย สะอาด ไม่ว่าจะเป็น การใช้ความร้อน ความเย็น การน้ำมาตากให้แห้ง การใช้น้ำตาล การฉายรังสี หมักหรือดอง เป็นต้น เพื่อเป็นการถนอมรักษาคุณภาพของอาหารทำให้รสชาติดีขึ้น รวมทั้งการเติมสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายได้อีกด้วย อาหารที่ผ่านการแปรรูปแล้วบางอย่างเก็บได้หลายวัน บางอย่างเก็บได้เป็นเดือน และบางอย่างเก็บได้เป็นปีโดยยังเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค การแปรรูปอาหารยังมีประโยชน์มากมาย อาทิ การทำลายสารที่เป็นพิษในอาหาร ช่วยถนอมอาหาร และกระบวนการแปรรูปอาหารในภาคอุตสาหกรรม มั่นใจถึงมาตรฐานและความปลอดภัย

และหลายคนคงทราบกันดีว่าการรับประทานอาหารแปรรูปอย่างขนมกรุบกรอบ อาหารกึ่งสำเร็จรูป ไส้กรอก และน้ำอัดลม อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพและเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพต่าง ๆ เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น แต่แท้จริงแล้วอาหารแปรรูปเหล่านี้จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพจริงหรือไม่ สามารถศึกษาได้จากข้อมูลต่อไปนี้

ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/photos/VyHBlfvh2L

อาหารแปรรูปเป็นอย่างไร ?

กระทรวงเกษตรประเทศสหรัฐอเมริกานิยามความหมายของอาหารแปรรูปไว้ว่า เป็นอาหารสดที่ผ่านกระบวนการเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะของอาหารให้ต่างไปจากเดิมตามธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นการสีข้าว การล้างทำความสะอาด การตัดตกแต่ง การหั่น การทำให้แห้ง การใช้ความร้อนปรุงหรือถนอมอาหาร การฆ่าเชื้อโรคด้วยความร้อนสูง การแช่แข็ง การหมักดอง การเก็บอาหารในบรรจุภัณฑ์ รวมถึงการใช้สารต่าง ๆ ในอาหาร เช่น การใช้วัตถุกันเสีย การเติมสารอาหาร และการปรุงแต่งรสชาติอาหารด้วยเกลือ น้ำตาล หรือไขมัน เป็นต้น จากคำนิยามดังกล่าวจึงอาจสรุปได้ว่า ขั้นตอนการเตรียมอาหารและการประกอบอาหารล้วนแต่เป็นกระบวนการที่ทำให้อาหารถูกแปรรูปจนเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมแทบทั้งสิ้น

อาหารแปรรูปเป็นภัยต่อสุขภาพจริงหรือ ?

นักวิจัยหลายรายเชื่อว่า การรับประทานอาหารที่ผ่านกระบวนการแปรรูปในปริมาณมากเกินไปอาจนำไปสู่ปัญหาโภชนาการไม่ดีและเสี่ยงเป็นโรคอ้วนได้สูง โดยเฉพาะอาหารแปรรูปแบบพร้อมรับประทานที่สามารถบริโภคได้อย่างรวดเร็วและสะดวกสบาย

ทั้งนี้ อาหารที่ผ่านกระบวนการแปรรูปสูงและอาหารพร้อมรับประทานมักมีน้ำตาล โซเดียม และไขมันอิ่มตัวในปริมาณสูงด้วย แม้ว่าส่วนผสมดังกล่าวจะช่วยเพิ่มรสชาติอาหาร ยืดอายุอาหารให้นานขึ้น หรืออาจช่วยทำให้รับประทานเนื้ออาหารได้ง่ายขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็อาจทำให้ร่างกายได้รับเกลือ น้ำตาล ไขมัน รวมทั้งแคลอรี่มากเกินกว่าปริมาณที่แนะนำต่อวันได้อีกด้วย

อาหารแปรรูปที่ควรหลีกเลี่ยง

แม้ทุกวันนี้ อาหารแปรรูปจะช่วยเพิ่มความสะดวกสบายและง่ายต่อการบริโภค แต่การรับประทานอาหารแปรรูปบางชนิดในปริมาณมากเกินไปก็อาจเสี่ยงเกิดอันตรายต่อสุขภาพได้เช่นกัน โดยอาหารแปรรูปที่ควรหลีกเลี่ยง มีดังนี้

ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/photos/6EE7hP87FVc

1.บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป

บะหมี่ชนิดนี้เพียง 1 ห่อมีโซเดียมประมาณ 2,000 มิลลิกรัม ซึ่งมากกว่าปริมาณที่สมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกาแนะนำต่อวันถึง 500 มิลลิกรัม โดยปริมาณดังกล่าวอาจทำให้ความดันเลือดเพิ่มสูงขึ้นและนำไปสู่ โรคหลอดเลือดสมองได้ นอกจากนี้ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปยังมีส่วนประกอบหลักเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว และไม่มีสารอาหารอย่างอื่นที่เป็นประโยชน์ใด ๆ ต่อร่างกาย

2.เบคอน

เบคอนเป็นอาหารที่มีโซเดียมสูง หากรับประทานมาก ๆ อาจนำไปสู่ภาวะความดันโลหิตสูงได้ และเบคอนยังประกอบไปด้วยไขมันอิ่มตัวที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคหัวใจและโรคอ้วน อีกทั้งยังมีสารกันเสียในปริมาณมากด้วย ซึ่งอาจทำให้เสี่ยงเกิดปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ตามมา เช่น ปวดศีรษะ หรืออาจนำไปสู่โรคร้ายแรงอย่างมะเร็งได้ เป็นต้น

ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/fotoblend-87167/

3.อาหารแช่แข็ง

แม้ว่าอาหารแช่แข็ง จะตอบโจทย์วิถีชีวิตของคนสมัยใหม่ที่ต้องการความสะดวกรวดเร็ว แต่อาหารชนิดนี้มักมาพร้อมกับน้ำตาล โซเดียม และไขมันในปริมาณสูง หากรับประทานติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ๆ อาจเสี่ยงมีน้ำหนักตัวมาก ความดันเลือดเพิ่มสูงขึ้น มีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ และมีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดสมองสูงขึ้นอีกด้วย แต่หากต้องการรับประทานอาหารแช่แข็งควรเลือกอาหารออร์แกนิก (Organic Food) ซึ่งเป็นอาหารจากผลิตผลทางการเกษตรที่ไม่ใช้สารเคมี โดยควรอ่านฉลากโภชนาการให้ดีก่อนซื้อและเลือกอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายทุกครั้ง

4.ผลไม้แห้ง

สำหรับคนที่ชื่นชอบการรับประทานของหวาน อาจเลือกบริโภคผลไม้อบแห้งอย่างลูกเกดหรือมะม่วงแทนขนมหวานต่าง ๆ เนื่องจากผลไม้แห้งมีเส้นใยอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุในปริมาณที่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม ผลไม้แห้งเหล่านี้ก็มีแคลอรี่และน้ำตาลสูง ซึ่งการรับประทานผลไม้แห้งมากเกินไปอาจทำให้ได้รับน้ำตาลในปริมาณมากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ โดยน้ำตาลส่วนเกินจะถูกเปลี่ยนเป็นไขมันสะสมในร่างกายต่อไป จนอาจเป็นเหตุของภาวะน้ำหนักเกินหรือการเกิดโรคอ้วนได้

ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/photos/094mP_CBdpM

5.มาการีน

มาการีนหรือเนยเทียมที่หลายคนมักใช้แทนเนยสด เป็นอาหารที่มีไขมันทรานส์ในปริมาณมาก ซึ่งจัดว่าเป็นไขมันที่อันตรายต่อสุขภาพเมื่อเทียบกับไขมันชนิดอื่น ๆ โดยไขมันทรานส์จะเพิ่มระดับของไขมัน คอเลสตอรอลชนิดไม่ดีซึ่งอาจนำไปสู่โรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองได้ โดยนักวิจัยได้แนะนำให้บุคคลทั่วไปและผู้ป่วยโรคมะเร็งลดปริมาณการบริโภคไขมันทรานส์จากอาหาร เพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพ

6.ซอสมะเขือเทศ

แม้ว่าการใช้ซอสมะเขือเทศในอาหารเพียงเล็กน้อยอาจไม่เป็นอันตราย แต่หากรับประทานเป็นประจำก็อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้เช่นกัน เนื่องจากในซอสมะเขือเทศมีสารเจือปนต่าง ๆ อย่างน้ำตาลและเกลือในปริมาณมาก นอกจากนี้ แคลอรี่ส่วนใหญ่ในซอสมะเขือเทศก็ยังมาจากน้ำตาลอีกด้วย

รับประทานอาหารแปรรูปอย่างไรให้ปลอดภัยต่อสุขภาพ ?

เนื่องจากเกลือ น้ำตาล และไขมันในอาหารแปรรูปเป็นสิ่งที่ไม่สามารถควบคุมได้ ดังนั้น ก่อนเลือกซื้ออาหารแปรรูป ควรอ่านฉลากโภชนาการให้แน่ใจก่อนทุกครั้งว่าไม่มีส่วนประกอบที่เป็นเกลือ น้ำตาล หรือไขมันในปริมาณมากเกินไป โดยในปัจจุบันได้มีการใช้ฉลากแบบสัญญาณไฟจราจรที่ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจหลักโภชนาการได้อย่างชัดเจนขึ้นว่าในผลิตภัณฑ์อาหารนั้น ๆ มีสารอาหารแต่ละชนิดอยู่ในปริมาณมากน้อยเพียงใด เพื่อประกอบการตัดสินใจก่อนเลือกรับประทาน โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • สีเขียว หมายถึง ปริมาณสารอาหารอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม แต่ไม่ควรรับประทานเกิน 2 หน่วยบริโภคต่อวัน
  • สีเหลือง หมายถึง ปริมาณสารอาหารอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง แต่ไม่ควรรับประทานเกิน 1 หน่วยบริโภคต่อวัน
  • สีแดง หมายถึง ปริมาณสารอาหารอยู่ในเกณฑ์ที่สูงกว่ากำหนด ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคสารอาหารชนิดนั้นในอาหารมื้อต่อไป

ทั้งนี้ ผู้บริโภคควรเลือกซื้ออาหารแปรรูปที่มีสัญลักษณ์โภชนาการสีเขียวและสีเหลืองมาก แต่มีสัญลักษณ์สีแดงน้อย เพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพและป้องกันปัญหาจากการได้รับสารบางชนิดเข้าสู่ร่างกายมากจนเกินไป

อาหารแปรรูปที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ บรรพบุรุษ อาหารแปรรูปเลือกกินอย่างพอดี รับประทานสลัดผักให้บ่อยขึ้น กินผักทุกมื้อร่วมกับข้าวในปริมาณที่มากพอสมควร ให้ความสำคัญกับแหล่งโปรตีนที่ได้มาตรฐาน เช่น เนื้อสัตว์ ปลา ลดของรสจัด ของทอด เนื้อสัตว์แปรรูป รสของหวานลง อาหารที่ผ่านการแปรรูปน้อยที่สุดมักจะมีสารอาหารมากขึ้นและมีไขมันโซเดียมและน้ำตาลน้อยกว่าอาหารแปรรูปสูงดังนั้นการหลีกเลี่ยงอาหารแปรรูปสามารถช่วยให้คุณมีสุขภาพที่ดีได้

ขอบคุณแหล่งที่มา: www.pobpad.com

คอมฟอร์ตฟู้ด
อาหาร

“คอมฟอร์ตฟู้ด” อาหารเพื่อสุขภาพที่สะดวกสบาย

คอมฟอร์ตฟู้ด อาหารที่สะดวกสบาย ถือเป็นสถานที่พิเศษในใจข […]

Read More
เทศกาลอาหาร
อาหาร

เทศกาลอาหารได้รับความนิยมมากขึ้นจากคนทั่วโลก

เทศกาลอาหาร เป็นการเฉลิมฉลองที่ยอดเยี่ยมของความหลากหลาย […]

Read More
การลดขยะอาหาร
อาหาร

วิธีที่สร้างสรรค์ในการลดขยะอาหารและประหยัดเงิน

การลดขยะอาหาร เป็นปัญหาสําคัญระดับโลกที่ไม่เพียง แต่ส่ง […]

Read More