ทานอย่างไรให้สุขภาพแข็งแรง

สุขภาพ

ปัจจุบันอาหารเพื่อสุขภาพนั้น ได้รับความสนใจอย่างมากใน เนื่องจากผู้คนส่วนใหญ่
หันมาใส่ใจในสุขภาพของตนเองมากขึ้น อาหารเพื่อสุขภาพเปรียบเสมือนยาอย่างหนึ่ง
ซึ่งมีผู้ให้ความหมายของอาหารสุขภาพไว้หลากหลาย ดังนี้

อาหารเพื่อสุขภาพ หมายถึง อาหารที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกาย นอกเหนือจากสารอาหารหลัก
ที่จำเป็นต่อร่างกาย นอกจากนี้อาจช่วยลดอัตราเสี่ยงต่อโรคต่างๆ และที่สำคัญคือการรับประทานอาหาร
ให้ถูกสุขลักษณะจะช่วยให้เรามีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง และจะส่งผลให้มีสุขภาพจิตที่ดีด้วย

อาหารเพื่อสุขภาพหมายถึงอาหารที่เมื่อรับเข้าไปแล้วน้ำหนักจะต้องอยู่ในเกฑ์ปรกติ ไม่เป็นโรคเรื้อรัง
โดยการเพิ่มอาหารผักและผลไม้ ลดเกลือ ลดน้ำตาล ลดไขมัน

ส่วนความหมายเฉพาะเจาะจง มีความหลากหลายมาก แต่โดยรวมแล้ว เกิดจากผู้บริโภค
ที่มุ่งเน้นเป้าหมาย เพื่อการมีสุขภาพที่ดีและมีอายุที่ยืนยาว ดังนั้นจึงต้องการควบคุมปริมาณของอาหาร
ที่รับประทานเข้าไป และการไม่มีโรค รวมทั้งส่งผลต่อเนื่องไปยังการมีสุขจิตที่ดีด้วย ผู้บริโภคเริ่มนำเรื่อง
การบริโภคอาหาร และสุขภาพมาเชื่อมโยงกัน เช่น ผู้บริโภคบางคนมองว่าหากบริโภคอาหารดีจะมีผลดีต่อสุขภาพกาย
และใจของผู้บริโภคนั้น ในทางตรงข้าม หากมีการบริโภคไม่ถูกต้อง อาจก่อให้เกิดโรคร้ายต่างๆได้ เช่น เบาหวาน
ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคอัมพาต เป็นต้น อีกทั้งมีการมองว่า วัยแต่ละวัยควรได้รับอาหารที่แตกต่างกันตามวัย
เช่น ในวัยเด็ก เนื้อสัตว์ ไข่ และนม ยังเป็นสิ่งจำเป็น เนื่องจากร่างกายมีการเจริญเติบโต ในขณะที่วัยผู้ใหญ่
ควรจะหลีกเลี่ยงอาหารบางประเภทไขมัน หรืออาหารหวานมากกินไป เพื่อไม่ให้เกิดไม่ผลเสีย หรือโรคภัยไข้เจ็บแก่ร่างกาย
และการบริโภคอาหารที่ถูกหลัก อาจจะช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันโรค ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคและโรคแทรกซ้อนของผู้บริโภคได้

ประเภทของอาหารเพื่อสุขภาพ

1. อาหารธรรมชาติ

สุขภาพ
2. อาหารออแกนิก

สุขภาพ
3. อาหารเสริม

สุขภาพ

หลักในการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ
1. กินให้ครบ 5 หมู่และกินให้หลากหลาย สารอาหารที่ร่างกายต้องการ ได้แก่ โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต
วิตามิน แร่ธาตุ น้ำ และใยอาหาร แต่คงไม่มีอาหารชนิดใดที่ให้สารอาหารอย่างครบถ้วนในปริมาณที่ร่างกายต้องการ
ดังนั้นจึงจำเป็นต้องกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ และกินให้หลากหลายจึงจะได้สารอาหารที่ครบถ้วน
และเพียงพอกับความต้องการของ ร่างกาย

2. กินข้าวเป็นอาหารหลัก ข้าวมีสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต โปรตีน วิตามิน แร่ธาตุ
และใยอาหาร เป็นสารอาหารที่ให้พลังงานกับร่างกาย ควรกินข้าวสลับกับอาหารประเภทแป้งอื่นๆ
เช่น ขนมปัง ก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน เผือกและมัน เป็นต้น

3. กินผักผลไม้เป็นประจำ ผักและผลไม้ เป็นอาหารที่ให้วิตามินแร่ธาตุและกากใย นอกจากนี้ยังมีสารอื่นๆ
ที่ช่วยป้องกันไม่ให้ไขมันไปเกาะตามหลอดเลือด และช่วยทำให้เยื่อบุของเซลล์ และอวัยวะต่างๆ แข็งแรงขึ้นอีกด้วย

4. เนื้อสัตว์ เป็นสารอาหารประเภทโปรตีน ควรกินเนื้อสัตว์จำพวก ปลา เนื้อไม่ติดมัน
เพื่อลดการสะสมของไขมันในร่างกาย ไข่ก็เป็นอาหารที่ให้โปรตีนเหมือนกันแถมยังมีราคาถูกและหาซื้อง่ายอีกด้วย

5. ดื่มนม นมมีสารอาหารที่ให้โปรตีน แคลเซียม และวิตามินบี ซึ่งมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโต
ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ สร้างเนื้อเยื่อ และเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกระดูกและฟัน จึงเป็นอาหารที่เหมาะสม
กับบุคคลทุกเพศทุกวัยที่ควรกินทุกวัน

6. ไขมัน เป็นสารที่ให้พลังงานและความอบอุ่นแก่ร่างกาย ช่วยดูดซึมวิตามิน เอ ดี อี และเค
ควรกินอาหารที่มีไขมันแต่พอควร ไม่ควรกินมากเกินไป จะทำให้มีโคเลสเตอรอลในเลือดสูง และเกิดโรคอื่นๆ ตามมาได้

7. หลีกเลี่ยงอาหารหวานจัดและเค็มจัด อาหารที่มีรสหวานจัดทำให้ร่างกายได้พลังงานเพิ่มขึ้นและทำให้อ้วน
ส่วนอาหารที่มีรสเค็มจัดทำให้เสี่ยงต่อภาวะความดันโลหิตสูง

8. กินอาหารที่สะอาด ควรกินอาหารที่สะอาด และปรุงสุกใหม่ๆ บรรจุในภาชนะที่ปลอดภัย ไม่มีสารพิษ
เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยของระบบทางเดินอาหาร

9. งดดื่มแอลกอฮอล์ เพราะแอลกอฮอล์เป็นโทษแก่ร่างกาย ทำให้สมรรถภาพการทำงานของระบบต่างๆ
ของร่างกายลดลง เสี่ยงต่อการเป็นโรคตับแข็ง แผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ มะเร็งหลอดอาหารอีกด้วย

สุขภาพ

กิน “คาร์โบไฮเดรต” อย่างไรไม่ให้อ้วน

กิน “คาร์โบไฮเดรต” อย่างไรไม่ให้อ้วน คิดว่าหลายคนจะมีคว […]

Read More
สุขภาพ

4 สิ่งที่ควรทำในวันที่รู้สึกว่าตัวเอง “ไร้ค่า”

4 สิ่งที่ควรทำในวันที่รู้สึกว่าตัวเอง “ไร้ค่า&#82 […]

Read More
สุขภาพ

5 เคล็ดลับลด “ไขมันหน้าท้อง” อย่างไรให้ได้ผล

5 เคล็ดลับลด “ไขมันหน้าท้อง” อย่างไรให้ได้ผล เอวคอดๆ ไม […]

Read More